เมนู

ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน
หลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่
ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและพระ
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ของพระองค์ทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง
พระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถาอุทยสูตรที่ 2



ในอุทยสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โอทเนน ปูเรสิ ความว่า พราหมณ์เอาข้าวพร้อมด้วยแกง
และกับที่เขาจัดไว้เพื่อคนใส่บาตรจนเต็มถวาย. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตรวจดูโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นพราหมณ์นั้น ทรงปฏิบัติพระสรีระแต่
เช้าทีเดียว เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงปิดประตูแล้วประทับนั่ง ทรงเห็นโภชนะ
ที่เขายกเข้าไปไว้ใกล้พราหมณ์ ลำพังพระองค์เดียวเท่านั้นทรงคล้องบาตรที่
จะงอยบ่า เสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จถึงประตูพระนครทรงนำบาตรออก
แล้วเสด็จเข้าภายในพระนคร ทรงดำเนินไปตามลำดับ ประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตู
บ้านพราหมณ์. พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ถวายโภชนะที่เขาจัด
แจงมาเพื่อตน. คำว่า โอทเนน ปูเรสิ นี้ท่านกล่าวหมายเอาโภชนะนั้น . บทว่า
ทุติยมฺปิ ได้แก่แม้ในวันที่ 2. บทว่า ตติยมฺปิ ได้แก่แม้ในวันที่ 3 ได้ยิน
ว่า ในระหว่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปประตูเรือนพราหมณ์ติด ๆ กัน
ตลอด 3 วัน ไม่มีใคร ๆ ที่สามารถจะลุกขึ้นรับบาตรได้. มหาชนได้ยืนแลดู
อยู่เหมือนกัน.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า พราหมณ์แม้ถวายจนเต็มบาตรตลอด 3
วัน ก็มิได้ถวายด้วยศรัทธา. พราหมณ์บริโภคโดยมิได้ถวายแม้เพียงภิกษาแก่
บรรพชิตที่มายืนอยู่ยังประตูเรือน แต่ได้ถวายเพราะกลัวถูกติเตียนว่า บรรพชิต
มายืนถึงประตูเรือนแล้ว แม้เพียงภิกษาก็ไม่ถวาย กินเสียเอง ดังนี้. และเมื่อ
ถวาย 2 วันแรกถวายแล้วมิได้พูดอะไร ๆ เลย กับเข้าบ้าน. ทั้งพระผู้มีพระ
ภาคเจ้ามิได้ตรัสอะไร ๆ เหมือนกัน เสด็จหลีกไป แต่ในวันที่ 3 พราหมณ์ไม่
อาจจะอดกลั้นไว้ได้ จึงได้กล่าวคำนี้ว่า ปกฏฺโก ดังนี้เป็นต้น. แม้พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ได้เสด็จไปจนถึงครั้งที่ 3 ก็เพื่อจะทรงให้เขาเปล่งวาจานั้นนั่นเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฏฺฐโก ได้แก่ติดในรส.
พระศาสดาทรงสดับคำของพราหมณ์แล้ว ตรัสว่า ท่านพราหมณ์
ท่านถวายบิณฑบาตตลอด 3 วัน ยังย่อท้ออยู่ ในโลกมีธรรม 16 ประการที่
ควรทำบ่อย ๆ ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงธรรมเหล่านั้น จึงทรงเริ่มพระธรรม
เทศนานี้ว่า ปุนปฺปุนํ เจว วปนฺติ พีชํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ปุนปฺปุนํ เจว วปนฺติ ท่านกล่าวไว้ในสัสสวารหนึ่งแล้ว แม้ในสัสสวารอื่น ๆ
ชาวนาย่อมหว่านโดยไม่ท้อแท้เลยว่า เท่านี้พอละ ดังนี้. บทว่า ปุนปฺปุนํ วสฺสติ
ความว่า มิใช่ตกวันเดียวหยุด. ตกอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ ทุก ๆ วัน ทุก ๆ ปี ชนบท
ย่อมมั่งคั่งด้วยอาการอย่างนี้. พึงทราบนัยแห่งเนื้อความในทุก ๆ บทโดย
อุบายนี้.
ในบทว่า ยาจกา นี้ พระศาสดาทรงแสดงอ้างถึงพระองค์ เพราะความ
ที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนา. บทว่า ขีรณิกา ได้แก่ผู้รีดนมโคเพราะน้ำ
นมเป็นเหตุ. จริงอยู่ ชนเหล่านั้นไม่ปรารถนาน้ำมันคราวเดียวเท่านั้น อธิบาย
ว่า ย่อมปรารถนารีดโคนมบ่อย ๆ. บทว่า กิลมติ ผนฺทติ จ ความว่า
สัตว์นี้ย่อมลำบากและดิ้นรนด้วยอิริยาบถนั้น ๆ. บทว่า คพฺภํ ได้แก่ท้องสัตว์

ดิรัจฉานมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น. บทว่า สีวถิกํ ได้แก่ป่าช้า.
อธิบายว่า นำสัตว์ตายแล้วไปในป่าช้านั้นบ่อย ๆ. บทว่า มคฺคญฺจ ลทฺธา
อปุนพฺภวาย
ความว่า พระนิพพานชื่อว่ามรรค เพราะไม่เกิดอีก อธิบายว่า
ได้พระนิพพานนั้น.
บทว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่
ระหว่างถนนนั่นแหละ ทรงแสดงปุนัปปุนธรรม 16 ประการ ได้ตรัสอย่างนี้.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า ในที่สุดเทศนา พราหมณ์พร้อมด้วยบุตรภรรยา
พวกมิตรและญาติ เลื่อมใส ถวายบังคมแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า กล่าวคำนี้ว่า อภิกฺกนฺตํ โภ เป็นต้น.
จบอรรถกถาอุทยสูตรที่ 2

3. เทวหิตสูตร



ว่าด้วยการให้ไทยธรรม



[682] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประชวรด้วยโรคลม.
ท่านพระอุปวาณะ เป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกท่านพระอุปวาณะมาตรัสว่า
อุปวาณะ เธอจงรู้ น้ำร้อนเพื่อฉัน ท่านพระอุปวาณะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว นุ่งสบงถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของเทวหิตพราหมณ์ แล้วยืนนิ่ง
อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.